ส่วนประกอบของรถไฟฟ้า

- ระบบขนส่งมวลชนด้วยระบบราง (Rail Transit System) แบ่งเป็น 2 ประเภท
   1. ระบบขนส่งมวลชนด้วยรางชนิดความจุต่ำ (Light Rail Transit System: LRT) 20,000-40,000 คนต่อชั่วโมง
   2. ระบบขนส่งมวลชนด้วยรางชนิดความจุสูง (Heavy Rail Transit System: HRT) >40,000 คนต่อชั่วโมง
- LRT วิ่งปนกับรถยนต์ และวิ่งในเขตการวิ่งของตนเอง ส่วน HRT วิ่งในเขตการวิ่งของตนเองเท่านั้น
- Metropolitan Electric Train หรือ รถไฟฟ้า (Metro)
  Suburban Rapid Transit หรือ รถไฟฟ้าชานเมือง (Commuter Rail)

ส่วนประกอบของรถไฟฟ้า (Metro)
1. โครงสร้างหลัก (Car Train Main Frame) เป็นโครงสร้าง (platform) เต็มตามขนาดของตู้รถ เป็นโครงสร้างที่ใช้ยึดแคร่หรือโบกี้ (bogie) ที่อยู่ด้านล่างและตัวถังที่อยู่ด้านบนเข้าด้วยกัน ส่วนใหญ่โครงสร้างหลักมักสร้างจากเหล็กกล้าที่มีความแข็งแรงสูง ที่ด้านหน้าของหัวรถไฟจะมีกันชน (front bumper) ขนาดใหญ่ เพื่อรองรับแรงกระแทกจากการชน
2. ตู้โดยสาร (Car Body) เป็นโครงสร้างตู้
3. ส่วนภายในตู้โดยสาร (Car Interior) ส่วนหุ้มผนังห้องโดยสาร เพดานห้องโดยสาร ระบบส่องสว่างภายใน ราวจับและชั้นวางของ ที่นั่งผู้โดยสาร พื้นของตู้โดยสาร (กันการลื่นไถล) กระจก ป้ายบอกข้อมูลการเดินทาง เครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ อุปกรณ์อื่นๆ เช่น อุปกรณ์ทุบกระจก อุปกรณ์ดับเพลิง
4. ส่วนภายนอกตู้โดยสาร (Car Exterior) ระบบส่องสว่าง กระจกหน้ารถและด้านข้าง ที่ปัดฝนและล้างกระจกหน้า ป้ายบอกข้อมูลหน้ารถ ส่วนเชื่อมต่อแต่ละขบวน (interior gangway) ขั้นบันได (footsteps) เครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ แตรหน้ารถ ชิ้นส่วนสำหรับปรับปรุงและลดแรงต้านอากาศ ระบบท่อและสายไฟ
5. ห้องควบคุมรถไฟฟ้า (Operator's Cab) ที่นั่งคนขับ กระจกหน้าและม่านบังแดด ฉนวน ผนังหุ้มภายใน ผนังกั้นระหว่างห้องควบคุมและห้องโดยสาร ส่วนเพดานของห้องควบคุม (ceiling cab) แผงคุมรถ อุปกรณ์สื่อสาร อุปกรณ์ควบคุม
6. แคร่ หรือ โบกี้ (Bogie) เป็นส่วนรองรับตู้รถไฟฟ้า รถไฟฟ้า 1 ตู้ (1 car train) ประกอบไปด้วย 2 โบกี้ ในแต่ละชุดจะประกอบไปด้วยล้อและแกนล้อ ระบบขับเคลื่อน ระบบเบรก ระบบลดแรงสะเทือน และ อุปกรณ์เสริมอื่นๆ
7. ระบบห้ามล้อหรือเบรก (Breaking System) เป็นระบบเบรกแบบไดนามิก (dynamic break) ทำงานร่วมกับระบบเบรกแบบกลไก (mechanical break และ friction break)
8. ระบบขับเคลื่อน (Traction System)
9. อุปกรณ์เชื่อมต่อ (พ่วง) ระหว่างตู้โดยสาร (Coupler)
10. ระบบประตู (Door System) โครงสร้างประตู ระบบขับเคลื่อนประตู ระบบล็อคประตู ระบบควบคุมการเปิดปิด ปุ่มเปิดปิดประตู
11. ระบบส่องสว่าง (Lighting) ส่องสว่างภายนอก ส่องสว่างภายในห้องโดยสาร ส่องสว่างภายในห้องคนขับ ระบบไฟสัญญาณและไฟบอกสถานะการทำงานบกพร่อง วงจรและระบบสายไฟ
12. ระบบปรับอากาศและระบายอากาศ (Air Condition and Ventilation System)
13. ระบบผลิตและจ่ายลม (Pneumatic System and Air Supple System)
14. ระบบจ่ายกระแสไฟฟ้า (Electrification and Power Supply System)
15. ระบบสื่อสารและเฝ้าระวัง (Communication and Monitoring System) ระบบวิทยุสื่อสาร (radio) ระบบกระจายเสียง (public address) ระบบส่งข้อมูล (data transmission system)
16. ระบบควบคุมรถไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณ (Train Control and Signaling System) มีระบบย่อย ประกอบไปด้วย
   16.1 ระบบเดินรถแบบอัตโนมัติ (Automatic Train Operation, ATO) รถไฟฟ้าถูกควบคุมการเดินรถจากศูนย์ควบคุมกลาง
   16.2 ระบบป้องกันภัยแบบอัตโนมัติ (Automatic Train Protection, ATP) ควบคุมรถกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน อันเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือขณะเกิดอุบัติเหตุ
   16.3 ระบบตรวจตรารถแบบอัตโนมัติ (Automatic Train Supervision, ATS) ระบบตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลแบบ real-time หรือเรียกว่า SCADA (Supervisory  Control and Data Acquisition) เป็นระบบที่เจ้าหน้าที่ของศูนย์ควบคุมกลางตรวจสอบการทำงานของรถไฟฟ้า

อ้างอิง
- https://www.railway-technology.com/
- นักสิทธิ์ นุ่มวงษ์, "ระบบและส่วนประกอบเบื้องต้นของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน - Introduction to Metropolitan Electric Train Systems and Components", วารสารการขนส่งและโลจิสติกส์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน พ.ศ. 2554 หน้า 18-25

Comments